การช่วยเหลือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
ตามพระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
พ.ศ. 2522
และแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนได้กำหนดภารกิจและอำนาจหน้าที่ของหน่วยราชการไว้ดังนี้
1.หน่วยงานปฏิบัติ ได้แก่
1.1 คณะกรรมการและกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนทุกระดับ
ได้แก่ ระดับชาติ จังหวัด อำเภอ
และระดับท้องถิ่น
เป็นหน่วยปฏิบัติมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว และตามที่กำหนดไว้ในแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
1.2 กระทรวง ทบวง
กรม ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ
(ยกเว้นหน่วยราชการทหาร )มีความเกี่ยวข้องกับงานป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนดังนี้
(1) หน่วยงานในแต่ละเขตท้องที่เป็นหน่วยปฏิบัติ
มีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของของผู้อำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบ
(2) หน่วยงานในส่วนกลาง เป็นหน่วยงานปฏิบัติ
มีหนาที่ปฏิบัติตามภารกิจที่ระบุไว้ตามแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และเป็นหน่วยงานสนับสนุน
มีหน้าที่ประสานและเตรียมปฏิบัติการตามแผน โดยให้การสนับสนุนเมื่อได้รับการร้องขอ
2.
หน่วยงานสนับสนุน ได้แก่
2.1 กระทรวงกลาโหม
เป็นหน่วยงานสนับสนุนให้ความช่วยเหลือสนับสนุนเมื่อได้รับการร้องขอ
2.2 หน่วยงานภาคเอกชน เป็นหน่วยงานสนับสนุน มีหน้าที่ปฏิบัติงานร่วมกับกองอำนวยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนทุกระดับ
ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้นจะต้องดำเนินการช่วยเหลือทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อการดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติของผู้ประสบภัย
และช่วยให้ผู้ประสบภัยบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า
เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตตามปกติต่อไป
เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น ให้มีคณะกรรมการดังต่อไปนี้
เพื่อดำเนินการสำรวจความเสียหาและดำเนินการช่วยเหลือ
ระดับอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ให้จังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งซึ่งเรียกว่า
“คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
อำเภอหรือกิ่งอำเภอ” เรียกโดยย่อว่า “ก.ช.ภ.อ.” หรือ “ก.ช.ภ.กอ.” ประกอบด้วยนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเป็นประธาน ปลัดอำเภอ
หัวหน้า ฝ่ายปกครองและพัฒนา ประชาสงเคราะห์อำเภอหรือผู้แทนที่จังหวัดมอบหมาย เกษตรอำเภอหรือผู้แทน ประมงอำเภอหรือผู้แทน ปศุสัตว์อำเภอหรือผู้แทน หัวหน้าส่วนราชการที่มีความรู้ทางช่างหรือข้าราชการที่มีความรู้ทางช่างคนใดคนหนึ่ง
พัฒนาการอำเภอหรือผู้แทน
หัวหน้าส่วนอำเภอเป็นกรรมการ
โดยมีปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายกิจกรรมพิเศษหรือปลัดอำเภอ (งานป้องกัน)
เป็นกรรมการและเลขานุการ
มีหน้าที่สำรวจความเสียหายจากภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินในกรณีหนึ่งกรณีใดที่เกิดขึ้นในเขตอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ
ทั้งนี้ ให้รวมถึงเทศบาล และสุขาภิบาล
ในเขตอำเภอหรือกิ่งอำเภอนั้นๆ ด้วย ในกรณีดังกล่าวจะตั้งผู้แทนของเทศบาล หรือสุขาภิบาลเข้าร่วมสำรวจด้วยก็ได้ พร้อมทั้งให้มีหน้าที่พิจารณาให้ความช่วยเหลือ
ระดับจังหวัด ให้จังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า
“คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด” เรียกโดยย่อว่า “ก.ช.ภ.จ.” ประกอบด้วย ปลัดจังหวัด
เป็นประธานประชาสงเคราะห์จังหวัดหรือผู้แทน เกษตรจังหวัดหรือผู้แทน ประมงจังหวัดหรือผู้แทน ปศุสัตว์จังหวัดหรือผู้แทน เกษตรและสหกรณ์จังหวัดหรือผู้แทน นายช่างโครงการชลประทานหรือผู้แทน
เร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดหรือผู้แทนหรือโยธาธิการจังหวัดหรือผู้แทน
หัวหน้าส่วนโยธาหรือผู้ดำรงตำแหน่งช่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดคนใดคนหนึ่ง พัฒนาการจังหวัดหรือผู้แทนเป็นกรรมการ โดยมีหัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ
(ป้องกันจังหวัด)
เป็นกรรมการและเรขานุการ
มีหน้าที่พิจารณารายงานความเสียหายจากภัยพิบัติในกรณีหนึ่งกรณีใดที่เกิดขึ้นจากรายงานของ ก.ช.ภ.อ.
หรือ ก.ช.ภ.กอ. ว่าผลการเสียหายดังกล่าวอยู่ในขอบเขตหลักเกณฑ์ที่จะให้ความช่วยเหลือได้หรือไม่เพียงใด แล้วจึงเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติ
หลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือ ให้คณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือในกรณีเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาตามความเหมาะสม และจำเป็นของแต่ละราย เพื่อให้ผู้ประสบภัยพิบัติสามารถผ่อนคลายความเดือดร้อนเฉพาะหน้า
มิใช่เป็นการชดใช้ความเสียหาย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
1.
ด้านเกษตร วิธีการให้ความช่วยเหลือ
คือ
(1)
จัดหาพันธุ์พืชช่วยเหลือ
(2)
จัดหายาเคมีเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชทุกชนิด
หรือสารเคมีหรืออินทรียวัตถุที่ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช
(3)
จัดหายาเคมี สารเคมี หรทออินทรียวัตถุ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันและจำกัดการแพร่ระบาดของศัตรูพืชทุกชนิด
2.
ด้านการประมง วิธีการช่วยเหลือ คือ
(1)
จัดหาสารเคมีและยารักษาโรคที่จำเป็นเพื่อแก้ไขและปรับปรุงคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นการบรรเทาอาการผิดปกติของสุขภาพสัตว์น้ำ
(2)
จัดหาพันธุ์สัตว์น้ำ
อาหารสัตว์น้ำช่วยเหลือ
(3)
จัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง
และน้ำมันหล่อลื่นรวมทั้งกระแสไฟฟ้าสำหรับเครื่องสูบน้ำของทางราชการเพื่อดำเนินการสูบน้ำเข้าหรือออกบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ
หากเครื่องสูบน้ำของทางราชการมีจำนวนไม่เพียงพอ
ให้จัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นรวมทั้งค่ากระแสไฟฟ้าสำหรับเครื่องสูบน้ำที่เอกชนนำมาใช้ช่วยเหลือ
3.
ด้านปศุสัตว์ วิธีการให้ความช่วยเหลือ
คือ
(1)
จัดหาพืชอาหารสัตว์หรืออาหารสัตว์ให้แก่สัตว์ของราษฎร
(2)
จัดหาวัคซีนและเวชภัณฑ์รักษาสัตว์ลี้ยงเพื่อประปรุงสุขภาพสัตว์และป้องกันกำจัดโรคอันเกิดจากผลกระทบของภาวะภัยพิบัติ
(3) การให้ความช่วยเหลือกรณีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์เสียหายโดยให้ความช่วยเหลือพันธุ์พืชอาหารสัตว์
(4)
การให้ความช่วยเหลือกรณีสัตว์ตายหรือสูญหายโดยให้การสนับสนุนพันธ์สัตว์
4. ด้านอื่นๆ ในความรับผิดชอบของกรมการปกครอง วิธีการให้ความช่วยเหลือ
1. จัดหาน้ำมันเชื่อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นรวมทั้งค่ากระแสไฟฟ้าสำหรับเครื่องสูบน้ำของทางราชการ
เพื่อดำเนินการสูบน้ำเข้าเนื้อที่เพาะปลูกหรือภาชนะรองรับน้ำ
หากเครื่องสูบน้ำของทางราชการมีจำนวนไม่เพียงพอ
ให้จัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่น รวมทั้งกระแสไฟฟ้าสำหรับเครื่องสูบน้ำที่เอชนนำมาใช้ช่วยเหลือ
2.
จัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถบรรทุกน้ำมาแจกราษฎรที่ขาดแคลนน้ำ อุปโภค บริโภค ในท้องที่ที่ประสบภาวะภัยแล้ง
3.
ซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำและรถยนต์บรรทุกน้ำของทางราชการหรือเอกชนที่นำมาช่วยเหลือและชำรุดในระหว่างใช้ปฏิบัติงานตามความจำเป็น
4.
จัดหาภาชนะรองรับน้ำสำหรับตั้งตามหมู่บ้าน
5. ซ่อมแซมภาชนะรองรับน้ำที่ตั้งตามหมู่บ้าน
เช่น โอ่งน้ำซีเมนต์ ถังเหล็กอาบสังกะสี ถังเก็บน้ำ
คสล. ถังปูนฉาบเสริมลวด หรือถังเก็บน้ำ ประเภทอื่นๆ
ที่ชำรุดเสียหายและปรับปรุงซ่อมแซมบ่อน้ำบาดาล
บ่อน้ำดื่มที่ชำรุดเสียหายรวมทั้งล้างบ่อน้ำบาดาลที่เป็นบ่อน้ำสาธารณะ
6.
ซ่อมแซมทำนบที่ช่วยกักเก็บน้ำหรือซ่อมลำรางหรือเหมือนส่งน้ำที่ชำรุดเสียหายให้สามารถกักเก็บน้ำหรือส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่ที่ประสบความแห้งแล้งได้
7. จัดหาวัสดุ ได้แก่
กระสอบทราย ดิน ลูกรัง
เสาเข็ม ไม้แบบ เป็นต้น
นำไปใช้ปิดกั้นแม่น้ำ คู คลอง
หรือเหมือง
เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ช่วยเหลือพื้นที่ที่ประสบความแห้งแล้งได้
8. จัดหาวัสดุ ได้แก่
กระสอบทราย ดิน ลูกรัง
เสาเข็ม ไม้แบบ ตลอดจนซ่อมแซมสิ่งสาธารณะประโยชน์ที่จำเป็นเพื่อป้องกันและแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าหรือลดอันตรายจากน้ำท่วม
9.
ซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำของทางราชการหรือเอกชนที่ชำรุดในระหว่างการสูบน้ำตามความจำเป็นและประหยัด
10. ซ่อมแซมสิ่งสาธารณะประโยชน์
ซึ่งได้รับความเสียหาย เช่น สะพาน ถนน
ทำนบ เหมือง ฝาย
โรงเรียน วัด สถานที่ราชการ
ตลอดจนถึงสาธารณประโยชน์อื่นๆ
5.
กรมประชาสงเคราะห์
สังกัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
มีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ดังนี้
(1)
กองสงเคราะห์ผู้ประสบภัย มีหน้าที่รับผิดชอบในการช่วยเหลือราษฎรซึ่งประสบภัยต่างๆ
ทั่วประเทศ เช่น ประสบอัคคีภัย
วาตภัย อุทกภัย ขาดแคลนข้าว
ขาดแคลนน้ำ ประสบอากาศหนาวจัด ราษฎรที่ยากจนช่วยเหลือตนเองไม่ได้ราษฎรประสบความเดือดร้อนในเหตุเฉพาะหน้า ราษฎรประสบภัยจากผลกระทบทางการเมืองภายมนและภายนอกประเทศ
คนไทยที่ตกทุกได้ยากในต่างประเทศตลอดจนผู้ประสบสาธารณภัยอื่นๆ
ที่จำเป็นต้องได้รับการสงเคราะห์ช่วยเหลือเฉพาะหน้าและประสานงานกับส่วนราชการและภาคเอกชนทั้งในและนอกประเทศ เพื่อการสงเคราะห์ช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยอย่างกว้างขวางและทั่วถึงโดยเร็วที่สุด
(2)
ศูนย์สงเคราะห์ผู้ประสบภัยประภาค
ซึ่งขณะนี้มีอยู่ 5 แห่ง คือ ภาคกลางที่กรุงเทพมหานคร ภาคเหนือที่จังหวัดพิษณุโลก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดขอนแก่น ภาคใต้ตอนบนที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี และภาคใต้ตอนล่างที่จังหวัดสงขลา
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จะให้การสนับสนุนจังหวัดต่างๆ ในภูมิภาคนั้นๆ ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
(3)
ประชาสงเคราะห์จังหวัด และประชาสงเคราะห์อำเภอ เป็นหน่วยงานของกรมประชาสงเคราะห์ในส่วนภูมิภาค ซึ่งรับผิดชอบภารกิจของกรมประชาสงเคราะห์ รวมทั้งการช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วย
ในการช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ประสบภัยนั้น
ให้พิจารณาช่วยเหลือเพื่อแก้ไชปัญหาตามความเหมือสม และความจำเป็นของแต่ละราย โดยคำนึงถึงฐานะ และความจำเป็นที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
เพื่อให้ผู้ประสบภัยผ่อนคลายความเดือดร้อนเฉพาะหน้า
มิใช่เป็นการชดใช้ความเสียหายโดยจะพิจารณาให้การช่วยเหลือ ดังนี้
(1)
ประเภทการเงิน ช่วยเหลือเป็นเงินสด
เพื่อเป็นค่าจัดการศพ
ค่ารักษาพยาบาล
เงินทุนการศึกษาแก่บุตร ค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าที่พัก
เงินยังชีพ เงินสงเคราะห์ครอบครัว
เป็นต้น
(2)
ประเภทสิ่งของ ช่วยเหลือเป็นสิ่งของ
เช่น เสื้อผ้า วัสดุในการซ่อมหรือสร้างบ้าน เครื่องมือประกอบอาชีพ อาหารแห้ง
ข้าวสาร ผ้าห่มนอน เครื่องครัว
เครื่องนอน
และเครื่องใช้จำเป็นแก่ครอบครัว เป็นต้น
(3)
ประเภทบริการ
ช่วยเหลือในการจัดเลี้ยงอาหารตามความจะเป็น จัดสร้างหรือดัดแปลงที่พักชั่วคราวสำหรับผู้ประสบภัย ซึ่งรวมทั้งการจัดให้มีไฟฟ้า น้ำบริโภคและใช้สอย ห้องน้ำ
ห้องส้วม ห้องครัว และสิ่งจำเป็นอื่นๆ
จัดส่งครอบครัวผู้ประสบภัยกลับภูมิลำเนาเดิมหรือส่งไปยังสถานที่สำหรับผู้อพยพ ส่งโรงพยาบาลหรือสถานสงเคราะห์แล้วแต่กรณี ส่งเจ้าหน้าที่และพยาบาลเพื่อการศึกษา จัดนักสังคมสงเคราะห์หรือนักจิตวิทยาหรือเจ้าหน้าที่อื่นๆ
ออกไปเยี่ยมเยียนปลุกปลอบใจ
ให้คำแนะนำปรึกษาติดต่อสอบถามปัญหาความเดือดร้อน เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมจนกว่าผู้ประสบภัยจะสามารถช่วยตนเองได้ต่อไป
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแต่ละประเภทนั้น
จะแตกต่างกันออกไปบ้างตามความเหมาะสมและความจำเป็นของแต่ละครอบครัว
แต่อย่างไรก็ตามผู้ช่วยเหลือจะอยู่ในพื้นฐานปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค
ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพ
นอกจากนี้ ในการช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยในระยะยาวนั้น
มีหน่วยงานของทางราชการอีกหลายหน่วยที่เข้าไปดำเนินการช่วยเหลือ เช่น
กรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย กรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสุข
และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เป็นต้น
ซึ่งจะให้การช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น
ซ่อมถนน ซ่อมสะพาน ดูแลเรื่องแหล่งน้ำ แจกจ่ายพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์
และแนะนำในการเพาะปลูกพืชทั้งระยะสั้นและระยะยาว เป็นต้น
6.
หน่วยงานเอกชน
มีบทบาทในการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย
เช่น การกู้ภัย
การช่วยเหลือชีวิตและการสงเคราะห์ช่วยเหลือในด้านเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ
เนื่องจากในภาคเอกชนนั้นมีมากมาย เช่น
ในรูปของมูลนิธิ สมาคม สโมสร
ชมรมต่างๆ ดังนั้น
เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทั่วถึง และไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนกัน
กรมประชาสงเคราะห์จึงได้เชิญหน่วยงานภาคเอกชนที่ปฏิบัติให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยมาทำแผนการปฏิบัติงานร่วมกันขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนี้
มีหน่วยงานเอกชนร่วมทำแผนการปฏิบัติงานกับกรมประชาสงเคราะห์ จำนวน 13
หน่วยงาน คือ
1. สภากาชาดไทย
2. สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์
3.
มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์
4.
มูลนิธิส่งเสริมความสะอาดและสุขภาพนักเรียน ในพระบรมราชูปถัมภ์
5. มูลนิธิสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
6. มูลนิธิฮั่วคี้ยวป่อเต็กเชี่ยงตึ้ง
หรือเรียกสั้นๆ ว่า มูลนิธิป่อเต็กตึ้ง
7. มูลนิธิร่วมกตัญญู
8. ยุวสมาคมไทย-ซิกข์
ในความอุปถัมภ์ของสมาคมศรีคุรุสิงห์สภา
9. พุทธสัมพันธ์สมาคมแห่งประเทศไทย
10. สมาคมฮินดูสมาช
11. มูลนิธิสหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย
12. สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชูปถัมภ์
13.
สมาคมพุทธมามกสงเคราะห์การกุศลแห่งประเทศไทย
ในการติดต่อกับทางราชการและหน่วยงานภาคเอกชนเพื่อขอรับการช่วยเหลือในด้านต่างๆ
นั้น มีเอกสารหรือหลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
ดังนี้
1. หนังสือรับรองจากสำนักงานเขต หรืออำเภอ
หรือเทศบาลว่าเป็นผู้ประสบภัย
2. ทะเบียนบ้าน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน
3. บัตรประจะตัวประชาชน หรือเอกสารอื่นที่แสดงตัว เช่น
บัตรประจำตัวข้าราชการ
หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ใบขับขี่รถยนต์ เป็นต้น
สำหรับสถานที่ที่จะไปขอรับการช่วยเหลือเบื้องต้นและในระยะยาว
ได้แก่
1. กองอำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ซึ่งจะตั้งอยู่ใกล้เคียงกับบริเวณที่เกิดภัยนั้นเองโดยจะมีหน่วยงานต่างๆ
ไปร่วมให้การช่วยเหลือเบื้องต้น ณ จุดนี้
2. กรมประชาสงเคราะห์
3. ศาลากลางจังหวัด ซึ่งจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัด สำนักงานประมงจังหวัด สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด และสำนักงานปกครอง
4. ที่ว่าการอำเภอ
5. สำนักงานบริหราส่วนท้องถิ่น เช่น
เทศบาล
6. ที่ตั้งของมูลนิธิ และสมาคมต่างๆ
7. สภากาชาดไทย
สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัด
โรงพยาบาล และสภากาชาด
8. สถานีอนามัย
โรงพยาบาลของรัฐ
สำนักงานสาธารณสุขและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
ดังนั้น
จะเห็นได้ว่าทุกส่วนราชการและหน่วยงานภาคเอกชนมีบทบาทและภารกิจในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามที่กฎหมายกำหนด
โดยเฉพาะในการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้นมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เข้าไปดำเนินการช่วยเหลืออยู่เป็นประจำ นักเรียนอาจจะคุ้นเคยและรู้จักหน่วยงานเหล่านั้นอยู่บ้างแล้ว เช่น
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมการปกครอง กรมประชาสงเคราะห์ สภากาชาดไทย
มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ มูลนิธิป่อ-เต็กตึ้ง และมูลนิธิร่วมกตัญญู เป็นต้น
คณะกรรมการจัดทำหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ระดับมัธยมศึกษา
เนื้อหาดีมากจ้า
ตอบลบสาระดีนะ
ตอบลบได้ความรู้เยอะเลยคะ
ตอบลบสาระอะ
ตอบลบไม่เคยรู้ ก็ได้รู้เลย
ตอบลบมีประโยชน์มากเลย
ตอบลบ